ReadyPlanet.com
dot
bulletรายชื่อคณะกรรมการผู้บริหาร
bulletเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์
bulletข้อบังคับสมาคม
bulletทำเนียบการแข่งขัน
bulletระบบคำขอ NSDF กองทุน


กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ article
วันที่ 27/01/2016   09:53:34

กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ


 

     กีฬาปันจักสีลัตที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ ในปัจจุบันนี้อยู่ภายใต้กติกาและระเบียบการแข่งขันของสหพันธ์ปันจักสีลัต นานาชาติ ตั้งอยู่ ณ นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ ประเทศไทย ปีพ.ศ. 2537 มีนักกีฬาจาก 18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ และกีฬาปันจักสีลัตก็ได้รับบรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ นครจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ครั้งล่าสุดในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 20

 

นักกีฬาไทยเจ๋ง คว้าเหรียญทองปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกครั้งที่ 15 ที่เชียงราย ในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 65 กก.

 

"เหรียญทองปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกครั้งที่ 15 ที่เชียงราย ในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 65 กก."

(นักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย สามารถคว้าเหรียญทองคลาสดี รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 65 กิโลกรัม ในการแข่งขันเมื่อ 26 พ.ย. 55)

 

นายพรเทพ พูลแก้ว อายุ 21 ปี นักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย สามารถคว้าเหรียญทองคลาสดี รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 65 กิโลกรัม ในการแข่งขันเมื่อ 26 พ.ย. 55

 

(นาย พรเทพ พูลแก้ว อายุ 21 ปี นักกีฬาปันจักสีลัตทีมชาติไทย)

 


กีฬาปันจักสีลัตในปัจจุบัน

     กีฬาปันจักสีลัตได้เปลี่ยนโครงสร้าง โดยจัดประเภทของการแข่งขันซึ่งเดิมจัดให้มีการแข่งขัน 2 ประเภท ในการแข่งขันชิงแชมป์นานาชาติ และการแข่งขันชิงแชมป์โลก คือ ประเภทการต่อสู้จริง และการแสดงศิลปะการต่อสู้ (เป็นการแสดง) แต่การแข่งขันปันจักสีลัตในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13-18 มีการแข่งขันเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทการต่อสู้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยแยกการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลก ปี 1997 ณ ประเทศมาเลเซีย และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย จนถึงปัจจุบัน

สิละของมุสลิมภาคใต้

สิละยาโต๊ะ คือ สิละอาศัยศิลปะการต่อสู้ เมื่อฝ่ายหนึ่งรุกอีกฝ่ายหนึ่งต้องรับ ถ้ารับไม่ได้ก็จะตกไป เลยเรียกว่า สิละยาโต๊ะ (ตก) ส่วนมากใช้ในการแข่งขันประชันฝีมือ
• สิละตารี (รำ) คือ สิละที่ต่อกรด้วยความชำนาญในจังหวะลีลาการร่ายรำ ส่วนมากแสดงเฉพาะ หน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชั้นสูง
• สิละกายอ (กริช) คือ สิละใช้กริชประกอบการร่ายรำไม่ใช้การต่อสู้จริง ๆ แต่อวดลีลากระบวนท่าทางต่อสู้ ส่วนมากแสดงในเวลากลางคืน

     รวม ความแล้ว จุดประสงค์ส่วนใหญ่ของสิละมุ่งศิลปะการร่ายรำมากกว่าศิลปะการต่อสู้แบบสม จริง ท่าทางยกไม้ยกมือมีส่วนคล้ายคลึงกับมวยจีนหรือกังฟู ชวนให้คิดไปว่าต้นกำเนิดสิละนั้น อาจมิใช่อย่าง Mubin Sheppard เสนอ ไว้ข้างต้นคงสืบเนื่องมาจากพ่อค้าจีน นำศิลปะของตนมาเผยแพร่ ณ เมืองปัตตานีครั้งโบราณ ตำนานปัตตานีมักปรากฏชาวจีนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไม่ว่าเป็นตำนานของลิ่มโต๊ะ เคี่ยมนายช่างปืนใหญ่ นางพญาตานี และตำนานลิ่มกอเหนี่ยวผู้เป็นน้อง เมื่อชาวจีนเข้ามาค้าขายที่เมืองปัตตานีแล้วก็นำศิลปะการต่อสู้ของตนมาเผย แพร่ ผสมผสานกับมวยพื้นเมือง จึงเป็นศิลปะการต่อสู้แบบใหม่เรียกว่า สิละ อย่างไรก็ตาม ยังมีที่มาของสิละอีกหลายสำนวนซึ่งยังสรุปแน่นอนมิได้

ท่ารำกำเนิดจากช่อดอกบอมอร์ในกระแสน้ำวน

          Mubin Sheppard ได้กล่าวถึงตำนานสิละไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีมาตั้งแต่ 400 ปีมาแล้วโดยกำเนิดที่เกาะสุมาตรา ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัย ตำนานว่า สมัยหนึ่งสามสหายเชื้อสายสุมาตรา ชื่อ บูฮันนุดดิน ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสุมาตรา สำนักวิทยายุทธนั้นอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่ น้ำในสระไหลมาจากหน้าผาสูงชัน ริมสระมีต้นบอมอร์ ออกดอกสีม่วงสดกลมกลืนกับสีนกกินปลา ซึ่งถลาร่อนเล่นน้ำเนืองนิตย์ วันหนึ่ง ฮามินนุดดินไปตักน้ำที่สระแห่งนั้น เขาสังเกตเห็นว่าแรงน้ำตกทำให้น้ำในสระเป็นระลอกคลื่นหมุนเวียน และที่น่าทึ่งคือ ดอก บอมอร์ช่อหนึ่ง ซึ่งหล่นจากต้น ถูกน้ำพัดตกลงกลางสระแล้วจึงถอยย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งลอยไปลอยมา เช่นนี้ประหนึ่งว่ามีชีวิต จิตใจ ฮามินนุดดิน เพิ่มความพิศวงถึงกับวางกระบอกไม้ไผ่ซึ่งบรรจุน้ำ แล้วจ้องมองดอกไม้ในสระเป็นเวลานาน จากนั้นชายหนุ่มรีบคว้าดอกไม้ช่อนั้นกลับมา เขาได้นำลีลาการลอยของดอกบอมอร์มาประยุกต์สอนการร่ายรำให้แก่เพื่อนทั้งสอง และช่วยกันคิดวิธีเคลื่อนไหวโดยอาศัยแขนขา เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ วิชาสิละจึงเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

          เมื่อสามสหายเดินทางกลับถิ่นเดิมแล้ว ต่างตั้งตัวเป็นครูสอนวิทยายุทธและศาสนาอิสลาม ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครฝึกฝนการต่อสู้แบบสิละจนเป็นที่แพร่หลายออกไปตาม ลำดับ เมื่อจะฝึกสิละ ผู้สมัครใจต้องนำไหว้ครู โดยนำผ้าขาว ข้าวสมางัด ด้ายขาว และแหวน 1 วง มามอบให้กับครูฝึก ผู้เป็นศิษย์ใหม่จะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ระยะเวลาที่เรียน 3 เดือน 10 วัน จึงจะจบ หลักสูตรการสอนนั้นจะมีครูสิละคนหนึ่งต่อศิษย์ 14 คน ในรุ่นหนึ่ง ๆ ผู้ที่เก่งที่สุดจะได้รับแหวนจากครู และได้รับเกียรติเป็นหัวหน้าทีมและสอนแทนครูได้ การแต่งกายของนักสิละเท่าที่สังเกตมุ่งที่ความสวยงามเป็นประการสำคัญ เช่น มีผ้าโพกศีรษะ สวมเสื้อคอกลมหรือคอตั้ง นุ่งกางเกงขายาว แล้วมีผ้าโสร่งเรียกผ้าชอเกตลาย สดสวยสวมทับพร้อมกับมีผ้าลือปักคาดสะเอวหรือมิฉะนั้นก็คาดเข็มขัดทับโสร่ง ให้กระชับ นอกจากนั้นเหน็บกริชตามฉบับนักสู้ไทยมุสลิม

          เครื่องดนตรีสิละประกอบด้วยกลองยาว 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ ฆ้อง 1 คู่ และปี่ยาว 1 เลา เมื่อนักสิละขึ้นบนสังเวียนแล้ว ดนตรีจะประโคมเรียกความสนใจคนดู โดยเฉพาะเสียงปี่เร้าอารมณ์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ามวยไทย การไหว้ครูแบบสิละนั้น เขาไหว้ทีละคน วิธีการไหว้ครูแต่ละสำนักแตกต่างกันไป สังเกตว่าขณะรำไหว้ครูนั้น นักสิละจะทำปากขมุบขมิบว่าคาถาเป็นภาษาอาหรับ และที่สำคัญคือขอพรสี่ประการ สรุปเป็นภาษาไทยดังนี้
          o ขออโหสิกรรมแก่คู่ชิงชัย
          o ขอให้ปลอดภัยจากปรปักษ์
          o ขอให้เป็นที่รักแก่เพื่อนบ้าน
          o ขอให้ท่านผู้ชมนิยมศรัทธา

เริ่มต้นด้วยการสาลามัต

   
          ก่อนนักสิละลงมือต่อสู้ ทั้งคู่จะทำความเคารพกันและกัน เรียกว่า “ สาลามัต” คือต่างสัมผัสมือแล้วแตะที่หน้าผาก หลังจากนั้นจึงเริ่มวาดลวดลายร่ายรำตามศิลปะสิละ บางครั้งนักสู้ต่างกระทืบเท้าให้เกิดเสียงหรือมิฉะนั้นเอาฝ่ามือตีที่ต้นขา ของตนเอง เพื่อให้เกิดเสียงข่มขวัญปรปักษ์ เมื่อรำไปรำมา หรือก้าวไปถอยมา ประหนึ่งว่าเป็นการลองเชิงพอสมควรแล้วต่างหาทางพิชิตคู่ต่อสู้ คือหาจังหวะให้มือฟาดหรือใช้เท้าดันร่างกายฝ่ายตรงกันข้าม จังหวะการประชิดตัวนั้นดูเหมือนว่าจะห้ำหั่นกันชั่วฟ้าแลบ ขณะนั้นดนตรีก็โหมจังหวะกระชั้น พลอยให้คนดูระทึกใจ ฝ่ายใดทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงหรืออาศัยการตัดสินจากผู้ดูรอบสนามว่าเป็นเสียง ปรบมือให้ฝ่ายใดดัง ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะ

          กติกาข้อห้ามที่นักสิละต้องเว้น ได้แก่ ห้ามเอานิ้วมือแทงตาคู่ต่อสู้เพราะต่างไม่สวมนวมและไม่กำมือแน่นอย่างชกมวย ไทยหรือมวยสากล ถัดมาคือห้ามบีบคอ ห้ามต่อยแบบมวยไทย เช่น ใช้ศอก และเข่า

          กระบวนชั้นเชิงสิละ ตามที่ Mobin Shoppard เขียนไว้ในหนังสือ Teran Mndera มีมากมายหลายท่าเช่น
          o ซังคะ ตั้งท่าป้องกัน
          o ลังคะดาน ท่ายืนตรงพร้อมต่อสู้
          o ลังคะทีฆา ท่ายกมือป้องกัน คือมือขวาปิดท้องน้อยแขนซ้ายยกเสมอบ่า
          o ลังคะเลิมปัด ท่าก้าวไปตั้งหลักเบื้องหน้าปรปักษ์ โดยก้าวเท้าทั้งสองอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
http://www.sat.or.th




ประวัติกีฬาปันจักสีลัตและสมาคมฯ

ประวัติกีฬาปันจักสีลัต วันที่ 27/01/2016   09:50:16 article
ประวัติสมาคมปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย วันที่ 08/04/2016   15:59:20 article



Copyright ©2022 Pencak Silat Association of Thailand All Rights Reserved.

สมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย "สปสท."

286 การกีฬาแห่งประเทศไทย อาคารเฉลิมพระเกียรติ ตึก25 ชั้น,ชั้น15 ห้อง6 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
โทร:02-1709472,แฟกซ์:02-1709473
อีเมล์สมาคมฯกกท.:psatthailand@gmail.com

Pencak Silat Association of Thailand "PSAT"

286 Sports Authority of Thailand, building 25, Floor 15, Room 6,  Ramkhamhaeng Rd., Huamark, Bangkapi, Bangkok 10240
TEL:
02-170-9472,   FAX: 02-170-9473
Email Office Bangkok:
psatthailand@gmail.com


WWW  Facebook  twitter  You Tube Chanal  Email psatthailand@gmail.com